แนะนำวิธีวางแผนการเงินให้พ่อแม่มือใหม่ใช้เลี้ยงลูกจนเรียนจบ

money-gd2e90761b_640.jpg

แนะนำวิธีวางแผนการเงินให้พ่อแม่มือใหม่ใช้เลี้ยงลูกจนเรียนจบ

การวางแผนการเงินให้ลูก นับเป็นสิ่งสำคัญที่พ่อแม่ยุคใหม่ควรให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่อง ยิ่งในปัจจุบันที่ภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มีมากมายและรัดตัวผู้ปกครองหลาย ๆ คนก็ยิ่งทำให้ควรทำตั้งแต่เนิ่น ๆ ตั้งแต่ลูกเกิดเลยทีเดียว

ขั้นตอนการวางแผนการเงินให้ลูก ควรเริ่มอย่างเป็นระบบ ดังนี้

  1. คำนวณค่าใช้จ่ายที่จำเป็นสำหรับลูก การคำนวณค่าใช้จ่ายของลูกควรพิจารณาจนถึงระดับการศึกษาที่ผู้ปกครองคาดหวังเอาไว้ ซึ่งควรร่วมถึงค่าเลี้ยงดูเวลาที่ลูกไปโรงเรียน ค่าเทอม พร้อมเตรียมค่ากิจกรรมต่าง ๆ ของลูก โดยเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการเล่าเรียนของลูก ๆ มักอยู่ที่ประมาณเดือนละ 10,000 บาท และดังนั้นหากคาดการณ์ว่าลูกจะต้องเรียนหนังสือถึงอายุ 25 ปี แสดงว่าลูกของคุณจะต้องใช้เงินเพื่อการศึกษาประมาณปีละ 120,000 บาท หรือประมาณ 3,000,000 บาทจนกว่าลูกจะเรียนจบ เมื่อได้ตัวเลขที่ต้องใช้จ่ายเมื่อลูกเรียนจบเช่นนี้แล้ว แสดงว่าผู้ปกครองควรวางแผนการเงินให้มีเงินเก็บเดือนละประมาณ 20,000 บาท เป็นอย่างน้อย

การออมเงินที่ดีควรมีอย่างน้อย 2 ส่วน

  • ส่วนที่ 1 เงินเก็บระยะสั้น เริ่มจากกำหนดค่าใช้จ่ายที่จำเป็นในแต่ละเดือน และแยกเงินส่วนที่ต้องการออมอย่างสม่ำเสมอ พ่อแม่อาจแยกบัญชีเงินฝากสำหรับลูกโดยเฉพาะ ซึ่งในปัจจุบันธนาคารหลายแห่งก็มีบัญชีเงินออมสำหรับลูกน้อยโดยเฉพาะให้พ่อแม่ได้เลือกใช้เก็บออมเงินเพื่อการศึกษาเงินให้ลูก ซึ่งมักมีอัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือช่วยลดหย่อนภาษีให้กับผู้ปกครองได้อีกด้วย
  • ส่วนที่ 2 การวางแผนการเงินเพื่อเก็บออมในระยะยาว อย่างการทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ซึ่งมีความคุ้มครองรองรับในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือเสียชีวิตให้กับลูก ๆ ดังนั้นนอกจากจะช่วยให้มีโอกาสเก็บเงินได้ดีขึ้นแล้ว ยังช่วยให้พ่อแม่เกิดความเชื่อมั่นได้ว่าแม้ว่าจะมีสถานการณ์ที่ไม่คาดฝันใด ๆ เกิดขึ้น ลูกก็จะยังมีโอกาสได้เล่าเรียนจนจบอย่างแน่นอน นอกจากนี้หากเกิดเหตุฉุกเฉินอื่น ๆ อย่างอาการเจ็บป่วย หรืออุบัติหตุผู้ทำประกันก็ยังจะได้รับเงินช่วยเหลือในการรักษา จึงเป็นการบริหารความเสี่ยงทางการเงินในระยะยาวได้เป็นอย่างดี และนอกจากการออมเงินในรูปแบบของประกันแล้ว พ่อและแม่ยังสามารถเลือกออมเงินด้วยการลงทุนอื่น ๆ ที่มีความปลอดภัยอย่างการซื้อกองทุนระยะยาว การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์กับบริษัทที่มีความเสี่ยงต่ำเพื่อให้เงินออมงอกเงยและมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นได้

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/เงิน-เหรียญ-การลงทุน-ธุรกิจ-2724241/

  1. การทำบัญชีรายรับ – รายจ่าย การวางแผนการเงินจะไม่มีประสิทธิภาพเลย หากไม่ทำบัญชีแสดงรายละเอียดทางการเงินในแต่ละวันอย่างถี่ถ้วนเอาไว้ก่อน ไม่ว่าจะเป็นค่าใช้จ่ายต่าง ๆ หรือรายรับต่าง ๆ ที่ได้รับ ค่าใช้จ่ายที่แสดงออกมาในบัญชีจะทำให้พ่อแม่ทราบว่ามีค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นแอบแฝงอยู่หรือไม่ เพื่อตัดหรือลดค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ออกไป ทำให้สามารถออมเงินได้มากขึ้น และมีหนี้สินตกค้างเอาไว้หรือไม่ ทั้งหนี้ระยะสั้น และยาว เพราะหนี้เหล่านี้มักกลายเป็นอุปสรรคขัดขวางให้ไม่สามารถดำเนินการตามแผนการเงินที่วางเอาไว้ และหากเก็บเงินได้มากพอกับความต้องการแล้ว ผู้ปกครองอาจพิจารณาให้รางวัลตัวเองบ้าง เพื่อไม่ให้เกิดความเครียด หรือล้าจนทำให้แผนทางการเงินไม่ประสบความสำเร็จนั่นเอง
  2. คอยอัพเดทสถาณการณ์และปรับแผนทางการเงินอยู่เสมอ เพราะช่วงชีวิตของพ่อแม่แต่ละคนอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการเปลี่ยนงาน ความผิดพลาดในการลงทุน หรือเป้าหมายความฝันของลูกที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเติบตขึ้นตามวัย ผู้ปกครองที่ต้องการวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพจึงควรให้เหมาะสมตามสถาณการณ์ปัจจุบัน และเมื่อเกิดปัญหาควรปรับแผนให้เหมาะสมกับสถาณการณ์ใหม่ ๆ นั้นทันที

save-up-gf82576f82_640.jpg

ที่มาของรูปภาพ www.pixabay.com/th/photos/ประหยัด-กระปุกออมสิน-การทำงานเป็นทีม-3451075/

การศึกษาเล่าเรียนถือเป็นพื้นฐานสำคัญที่ลูก ๆ ควรได้รับจากพ่อแม่ ถือเป็นขั้นตอนหนึ่งในชีวิตที่ช่วยสร้างโอกาสให้ลูก ๆ ประสบความสำเร็จได้ง่ายและรวดเร็ว พ่อแม่จึงควรวางแผนการเงินเพื่อการศึกษาของลูกอย่างรอบคอบ หากเกิดความเสี่ยงหรือปัญหาก็ไม่ควรตื่นตระหนกแต่ควรหาทางปรับตัวหรือวิธีการแก้ไขที่เหมาะสมทันที เพื่อให้แผนการเงินของลูกประสบความสำเร็จได้ในที่สุด